กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างปี พ.ศ. 2561-2562 (ภาษาไทย)
Situation of Zika virus in Surat Thani during year 2018-2019 (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎ์ธานี
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน มกราคม พ.ศ. 2561 จนถึงวันที่: 31 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2562 รวม:2 ปี
จำนวนเงิน:0.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
1
นางสาวสุภาภรณ์ แซ่ตัน
หัวหน้าโครงการ
2
นางทรรศนีย์ มาศจำรัส
ผู้ร่วมวิจัย
3
นางสาวธารทิพย์ รักชูชื่น
ผู้ร่วมวิจัย
บทคัดย่อ
โรคติดเชื้อไวรัสซิกา เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกามียุงลายเป็นพาหะนำโรค การศึกษานี้เป็นการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสซิกาด้วยวิธี Real time RT-PCR ในตัวอย่างผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อไวรัสซิกา จากโรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในช่วงปี พ.ศ.2561-2562 จำนวน 120 ตัวอย่าง จากผู้ป่วย 80 ราย เป็นหญิงร้อยละ 83.75 และชาย ร้อยละ 16.25 ผู้ป่วยร้อยละ 92.5 อยู่ในกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-60 ปี พบผลบวก 9 ราย (ร้อยละ 11.25) โดยเป็นผู้ป่วยกำลังตั้งครรภ์จำนวน 1 ราย (ร้อยละ 1.25) ในกลุ่มผู้ป่วยที่ให้ผลบวกเป็นผู้ป่วยในพื้นที่ตำบลท่าข้าม 6 ราย อีก 1 ราย อยู่ในตำบลหนองไทร อำเภอพุนพิน และ 2 ราย อยู่ในตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง พบ 6 รายให้ผลบวกทั้งในเลือดและปัสสาวะโดยเก็บตัวอย่างในช่วง 4-5 วันหลังเริ่มป่วย มี 2 รายให้ผลบวกเฉพาะในปัสสาวะซึ่งเก็บตัวอย่างในช่วง 7-10 วันหลังเริ่มป่วย และ 1 รายให้ผลบวกเฉพาะในเลือดซึ่งเก็บตัวอย่าง 2 วันหลังเริ่มป่วย จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกาอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าข้าม ตำบลมะขามเตี้ย และตำบลหนองไทร ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี การเก็บตัวอย่างตรวจที่เหมาะสมควรปฏิบัติตามแนวทางของกรมควบคุมโรค เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการตรวจพบเชื้อไวรัสซิกา
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
1
การจัดนิทรรศการในงานต่าง ๆ
นำเสนอโดยโปสเตอร์
เริ่ม: 26 ส.ค. 2563 สิ้นสุด: 26 ส.ค. 2563
รางวัลที่ได้รับ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๗ ก.พ. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน