กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรสิส ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2561 (ภาษาไทย)
Situation of Leptospirosis in Surat Thani during year 2016-2018 (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎ์ธานี
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน มกราคม พ.ศ. 2559 จนถึงวันที่: 31 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2561 รวม:3 ปี
จำนวนเงิน:50,000.00 บาท
ลำดับ ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่งในโครงการ
1
นางสาวชุติมา สังขสูตร
หัวหน้าโครงการ
2
นางทรรศนีย์ มาศจำรัส
ผู้ร่วมวิจัย
โรคเลปโตสไปโรสิสหรือโรคฉี่หนู เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นเกลียว มีชื่อว่า เลปโตสไปรา อาการ ไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง ปวดกล้ามเนื้อ ไตวาย และอาจเสียชีวิตได้ ในปี พ.ศ. 2559-2561 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี ได้รับตัวอย่างซีรั่มจากโรงพยาบาลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 577 ตัวอย่าง ตรวจวินิจฉัยด้วยวิธี Indirect Immunofluorescent Antibody (IFA) พบผลบวก 293 ตัวอย่าง (50.8%) โดยปี พ.ศ. 2559 ตัวอย่างส่งตรวจ 165 ตัวอย่าง พบผลบวก 64 ตัวอย่าง (38.8%) ปี พ.ศ. 2560 ตัวอย่างส่งตรวจ 204 ตัวอย่างพบผลบวก 117 ตัวอย่าง (57.4%) ปี พ.ศ. 2561 ตัวอย่างส่งตรวจ 208 ตัวอย่าง พบผลบวก 112 ตัวอย่าง(53.8%) เมื่อจำแนกเป็นฤดูกาล พบว่าฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม) ตัวอย่างส่งตรวจ 138 ตัวอย่าง พบผลบวก 82 ตัวอย่าง (59.4%) ส่วนฤดูฝน (มิถุนายน-มกราคม) ตัวอย่างส่งตรวจ 439 ตัวอย่าง พบผลบวก 211 ตัวอย่าง (48.1%) จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ โรคเลปโตสไปโรสิสในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมีผู้ป่วยสูงสุดในฤดูฝนช่วงสิงหาคมถึงตุลาคม อาจเนื่องมาจากปลายปี 2559 พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีประสบปัญหาอุทกภัย ส่งผลให้พบจำนวนผู้ป่วยด้วย โรคเลปโตสไปโรสิสเพิ่มขึ้น สาเหตุเกิดจากการย่ำน้ำแช่น้ำเป็นเวลานาน ข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้ในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคเลปโตสไปโรสิสในพื้นที่ต่อไป
คำสำคัญ : โรคเลปโตสไปโรสิส/ เลปโตสไปรา/ หนู
ลำดับ กิจกรรม รายละเอียด ระยะเวลา
1
การจัดนิทรรศการในงานต่าง ๆ
Poster
เริ่ม: 18 มี.ค. 2562 สิ้นสุด: 20 มี.ค. 2562
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๗ ก.พ. ๒๕๖๖