กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
ข้อกำหนดคุณภาพทางเคมีฟิสิกส์ของรากชิงชี่ (ภาษาไทย)
- (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
สถาบันวิจัยสมุนไพร
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2555 จนถึงวันที่: 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2559 รวม:4 ปี
จำนวนเงิน:0.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
1
นางสาววารุณี จิรวัฒนาพงศ์
หัวหน้าโครงการ
2
นายภูริทัต รัตนสิริ
ผู้ร่วมวิจัย
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล ชิงชี่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capparis micracantha DC. จัดอยู่ในวงศ์ Capparaceae รากชิงชี่มีสรรพคุณ แก้ไข้ โรคกระเพาะ ขับลม ขับปัสสาวะ รากชิงชี่จัดอยู่ในตำรับ ยาห้าราก หรือตำรับยา เบญจโลกวิเชียร ซึ่งเป็นตำรับยาที่ใช้รากไม้สมุนไพร 5 ชนิด เป็นสูตรผสมหลัก โดยเป็นตำรายาแผนโบราณในบัญชียาหลักแห่งชาติ ใช้บรรเทาอาการไข้ เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้ยังไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานมาก่อน จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของวัตถุดิบรากชิงชี่ เพื่อจัดทำข้อกำหนดคุณภาพทางเคมีของรากชิงชี่ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของวัตถุดิบรากชิงชี่ และนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานของวัตถุดิบรากชิงชี่ วิธีดำเนินการ งานวิจัยนี้ใช้ตัวอย่างอ้างอิงตรวจระบุชื่อตามหลักพฤกษอนุกรมวิธาน จำนวน 2 ตัวอย่าง และตัวอย่างจากร้านขายยาสมุนไพร จำนวน 20 ตัวอย่าง โดยศึกษาคุณภาพทางเคมีหัวข้อปริมาณความชื้นด้วยวิธีกราวิเมตริก ปริมาณเถ้ารวม ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำ และปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอล ตามวิธีในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia) ศึกษาเอกลักษณ์ทางเคมีด้วยวิธีการทดสอบปฏิกิริยาเคมี และศึกษาโครมาโทแกรมด้วยวิธีทีแอลซี ผลการศึกษา ผลการศึกษาคุณภาพทางเคมี ดังนี้ ปริมาณความชื้นด้วยวิธีกราวิเมตริกร้อยละ 7.43 ± 1.12 โดยน้ำหนัก ปริมาณเถ้ารวมร้อยละ 3.66 ± 0.96 โดยน้ำหนัก ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดร้อยละ 0.86 ± 0.55 โดยน้ำหนัก ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำร้อยละ 8.72 ± 2.86 โดยน้ำหนัก ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 2.38 ± 0.53 โดยน้ำหนัก และผลการศึกษาเอกลักษณ์ทางเคมีพบว่าสารสกัดชิงชี่ให้ผลบวกเมื่อทดสอบกับสารละลาย ninhydrin TS ข้อสรุป ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกลักษณ์ทางเคมีของรากชิงชี่ สามารถนำมาใช้ในการตรวจเอกลักษณ์ทางเคมีของรากชิงชี่ได้ และผลจากการศึกษาคุณภาพทางเคมีสามารถนำมาจัดทำเป็นข้อกำหนดคุณภาพทางเคมีของรากชิงชี่ ได้ดังนี้ ปริมาณความชื้นด้วยวิธีกราวิเมตริกไม่เกินร้อยละ 9.0 โดยน้ำหนัก ปริมาณเถ้ารวมไม่เกินร้อยละ 5.0 โดยน้ำหนัก ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดไม่เกินร้อยละ 1.0 โดยน้ำหนัก ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำไม่น้อยกว่าร้อยละ 6.0 โดยน้ำหนัก ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.0 โดยน้ำหนัก
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
1
ร่วมนำเสนอด้วยการพูดในงานวิชาการ
นำเสนอแบบโปสเตอร์
เริ่ม: 30 ส.ค. 2560 สิ้นสุด: 31 ส.ค. 2560
รางวัลที่ได้รับ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๔ ก.พ. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน