กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
การศึกษาคุณภาพทางเคมีของสารสกัดรางจืด (ภาษาไทย)
- (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
สถาบันวิจัยสมุนไพร
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2552 จนถึงวันที่: 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2553 รวม:1 ปี
จำนวนเงิน:0.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
1
นางสาววารุณี จิรวัฒนาพงศ์
หัวหน้าโครงการ
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล รางจืดเป็นสมุนไพรที่มีการใช้เป็นยาถอนพิษ นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาทางเภสัชวิทยาของสารสกัดด้วยน้ำของใบรางจืดว่าสามารถปกป้องตับของหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นพิษด้วยเอทานอลได้ และกรดคาร์เฟอิกซึ่งพบในสารสกัดรางจืดด้วยน้ำมีรายงานว่ามีฤทธิ์ในการปกป้องตับจากการถูกเหนี่ยวนำด้วยนิเกิลได้ แสดงว่ารางจืดมีศักยภาพพอที่จะนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตามยังขาดข้อมูลด้านคุณภาพทางเคมีของสารสกัดรางจืด วัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำข้อกำหนดคุณภาพทางเคมีของสารสกัดรางจืด วิธีดำเนินการ รวบรวมวัตถุดิบจากแหล่งปลูกและแหล่งธรรมชาติของประเทศไทย จำนวน ๒๐ แหล่ง นำมาสกัดด้วยน้ำและทำให้แห้งด้วยความเย็น ได้สารสกัดรางจืด นำสารสกัดที่ได้ศึกษาเอกลักษณ์ทางเคมีของสารสกัดโดยใช้กรดคาร์เฟอิกเป็นสารเทียบและวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี ดังนี้ ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ปริมาณสารสกัดด้วย ๙๕ เปอร์เซ็นต์ เอทานอล จากนั้นนำไปคำนวณทางสถิติคือหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดทำข้อกำหนดคุณภาพทางเคมีของสารสกัดรางจืด ผลการศึกษา การศึกษาเอกลักษณ์ทางเคมีพบกรดคาร์เฟอิกในสารสกัดรางจืดเมื่อใช้ คลอโรฟอร์ม เมทานอลและกรดฟอร์มิกในอัตราส่วน ๗๐ ต่อ ๓๐ ต่อ ๕ ตามลำดับ เป็นสารละลายเคลื่อนที่ และสารสกัดรางจืด มีปริมาณความชื้นอยู่ในช่วงร้อยละ ๒.๓๔ ๕.๗๖ โดยน้ำหนัก ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดอยู่ในช่วงร้อยละ ๑.๐๘ ๒.๗๑ โดยน้ำหนัก ปริมาณสารสกัดด้วย ๙๕% เอธานอล ในช่วงร้อยละ ๑๓.๐๔ ๓๐.๔๙โดยน้ำหนัก สรุป ข้อกำหนดคุณภาพทางเคมีของสารสกัดรางจืด ดังนี้ ปริมาณความชื้นไม่เกินร้อยละ ๕.๐ โดยน้ำหนัก ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดไม่เกินร้อยละ ๓.๐ โดยน้ำหนัก ปริมาณสารสกัดด้วย ๙๕% เอทานอล ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๖.๐ โดยน้ำหนัก และพบกรดคาร์เฟอิกเมื่อทดสอบเอกลักษณ์ทางเคมี
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
1
ร่วมนำเสนอด้วยการพูดในงานวิชาการ
นำเสนอรูปแบบโปสเตอร์
เริ่ม: 31 ส.ค. 2554 สิ้นสุด: 2 ก.ย. 2554
รางวัลที่ได้รับ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๔ ก.พ. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน