กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
การพัฒนาและทดสอบความถูกต้องของวิธีตรวจเอกลักษณ์กระท่อม และยาแก้ไอในของกลาง โดยเทคนิค ออนไลน์ เอสพีอี แอลซี-เอ็มเอส (ภาษาไทย)
Method development and validation for identification of Kratom and cough syrup in seized materials using online SPE LC-MS (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎ์ธานี
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2561 จนถึงวันที่: 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2562 รวม:1 ปี
จำนวนเงิน:360,000.00 บาท
ลำดับ ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่งในโครงการ
1
นายปัตย์ ธาราไพศาล
หัวหน้าโครงการ
2
นายพงษ์ธร ทองบุญ
ผู้ร่วมวิจัย
3
นายจิรพงษ์ อติชาต
ผู้ร่วมวิจัย
4
นางสาวกาญจนา ศรีไทย
ผู้ร่วมวิจัย
5
นายสุฟเฟียน ปะดอเล็ง
ผู้ร่วมวิจัย
ในปัจจุบันศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี มีการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์สารเสพติดในของกลางด้วยวิธีทิน-เลเยอร์โครมาโทรกราฟีเป็นวิธีมาตรฐาน แต่เนื่องจากตัวอย่างของกลางประเภทกระท่อม สี่คูณร้อยและยาแก้ไอ มีปริมาณมาก และใช้วิธีการสกัดในการเตรียมตัวอย่าง ทำให้ต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวอย่างและผู้ทดสอบจำนวนมาก ทั้งผู้ทดสอบยังเสี่ยงต่อการได้รับสัมผัสสารเคมีอันตราย มีผลต่อสุขภาพในระยะยาว จึงได้พัฒนาวิธีวิเคราะห์ด้วยการนำเครื่องมือออนไลน์ เอสพีอี แอลซี-เอ็มเอสมาใช้ และได้ทดสอบความถูกต้องของวิธีพบว่า มีความจำเพาะต่อสารไมทราไจนิน ไดเฟนไฮดรามีน เดกซ์โตรเมทอร์แฟน และคลอร์เฟนิรามีน โดยปริมาณต่ำสุดที่สามารถตรวจพบได้สำหรับสารไมทราไจนิน ไดเฟนไฮดรามีน เดกซ์โตรเมทอร์แฟน และคลอร์เฟนิรามีน คือ 100 90 80 และ 700 ppb ตามลำดับ ซึ่งวิธีที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถลดเวลาในขั้นตอนการสกัด ทำให้การตรวจวิเคราะห์ได้รวดเร็ว มีความถูกต้องแม่นยำ และมีความไวของวิธีมากขึ้น อีกทั้งยังปลอดภัยต่อผู้ทดสอบ ทำให้สามารถรองรับสถานการณ์ปัญหายาเสพติดทั้งในเชิงปริมาณและความหลากหลายของชนิดยาเสพติดที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่องานบริการในเขตสุขภาพที่ 11 ได้
ลำดับ กิจกรรม รายละเอียด ระยะเวลา
1
การจัดนิทรรศการในงานต่าง ๆ
นำเสนอผลงานด้วยโปสเตอร์
เริ่ม: 26 ส.ค. 2563 สิ้นสุด: 28 ส.ค. 2563
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๒๗ ม.ค. ๒๕๖๖