กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
เซลล์บำบัด (ภาษาไทย)
Cell therapy (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
สถาบันชีววัตถุ
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2556 จนถึงวันที่: 1 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2556 รวม:0 ปี
จำนวนเงิน:0.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
1
นางสาวกนิษฐา ภูวนาถนรานุบาล
หัวหน้าโครงการ
2
นางธีรนารถ จิวะไพศาลพงศ์ -
ที่ปรึกษา
3
นางวิชชุดา จริยะพันธุ์
ผู้ร่วมวิจัย
บทคัดย่อ
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อม (regenerative medicine) เป็นวิทยาการในการรักษาโรคเพื่อการซ่อมแซม แทนที่ ฟื้นฟูและสร้างทดแทนเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ที่เสียหายหรือเป็นโรค ซึ่งเซลล์บำบัด (cell therapy) นี้เป็นส่วนหนึ่งของเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อมที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในขณะนี้ โดยอาศัยความสามารถของเซลล์ในการซ่อมแซม ทดแทนเซลล์ที่เสียหาย และทำให้กลับมาทำงานได้ เซลล์บำบัดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ autologous cell therapy เป็นการรักษาโดยการนำเซลล์ของผู้ป่วยเองมาเพาะเลี้ยงและเพิ่มจำนวนนอกร่างกายแล้วนำกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง ข้อดีของวิธีนี้คือมีความเสี่ยงน้อยจากการต่อต้านของระบบภูมิคุ้มกัน การเข้ากันไม่ได้ทางชีวภาพระหว่างผู้ให้และผู้รับ และการถ่ายทอดโรคที่เกิดจากการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อหรือเซลล์จากผู้ให้ ข้อเสียคือ ต้องใช้เวลาในการแยกและเพิ่มจำนวนเซลล์ในสภาวะที่เหมาะสมก่อนนำเซลล์กลับเข้าไปในผู้ป่วย ส่วน allogeneic cell therapy เป็นการรักษาผู้ป่วยด้วยเซลล์ของผู้อื่น ข้อดีคือเป็นเซลล์ที่พร้อมใช้ แต่มีความเสี่ยงจากการต่อต้านของระบบภูมิคุ้มกันมากกว่า ทางเลือกซึ่งเป็นความหวังของเซลล์บำบัดในอนาคตคือ การใช้เซลล์ต้นกำเนิดสำเร็จรูป (stem cell products) ซึ่งภาครัฐของประเทศไทยจำเป็นต้องมีความพร้อมในการควบคุมกำกับผลิตภัณฑ์เซลล์ต้นกำเนิดสำเร็จรูปทั้งในด้านกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ตลอดจนเทคนิควิธีการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
1
ตีพิมพ์ผ่านบทความทางวิชาการ
ฉบับเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2563
เริ่ม: 1 พ.ค. 2556 สิ้นสุด: 1 พ.ค. 2558
รางวัลที่ได้รับ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๗ ก.พ. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน