กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
การสำรวจการรั่วของคลื่นจากเตาไมโครเวฟ (ภาษาไทย)
Monitoring of wave leakage from Microwave Ovens (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน มกราคม พ.ศ. 2550 จนถึงวันที่: 29 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2554 รวม:5 ปี
จำนวนเงิน:0.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
1
นายชัยยศ อินทร์ติยะ
หัวหน้าโครงการ
2
นางสาธิตา ปานขวัญ
ผู้ร่วมวิจัย
บทคัดย่อ
เตาไมโครเวฟใช้กันอย่างแพ ร่หลายในที่อยู่อาศัยเพื่ออุ่นปรุ งอาหารหรือใช้ในการเตรียมตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ เตาไมโครเวฟทำงานโดยใช้หลักการของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หากมีการรั่วของคลื่นเกินมาตรฐานกำหนดอาจเกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได ้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้กำหนดมาตรฐาน มอก. 1773-2548 ขึ้น โดยกำหนดให้ที่ระยะห่าง 50 มิลลิเมตร จากผนังของเตาไมโครเวฟ มีการรั่วของคลื่นได้ไม่เกิน 5 mW/cm2 ในปี งบประมาณ 2550-2554 สำนักรังสี และเครื่องมือแพทย์ได้สำรวจการรั่วของคลื่นจากเตาไมโครเวฟ จำนวน 1 20 ตัวอย่าง โดยใช้เครื่อง Microwave Survey Meter รุ่ น HI-1501 ทำการวัดท้ัง 6 ด้าน โดยรอบเตาไมโครเวฟ ด้านละ 9 จุด พบวา่ ค่าเฉลี่ยการรั่วของคลื่นจากเตาไมโครเวฟ มีค่าเท่ากับ (0.24 +/- 0.46) mW/cm2 บริเวณที่มีการรั่วของคลื่นมากที่สุด คือ ด้านหน้าของเตา คิดเป็นร้อยละ 58.3 บริเวณที่มีการรั่วของคลื่นน้อยที่สุด คือ ด้านขวาของเตา คิดเป็นร้อยละ 1.7 เตาไมโครเวฟที่ใช้สำหรับอุ่นหรือปรุงอาหาร มีการรั่วของคลื่นมากที่สุด เท่ากับ 1.4 mW/cm2 โดยพบที่ บริเวณรอยเชื่อมต่อขอบประตูด้านล่างเตาไมโครเวฟที่ใช้สำหรับเตรียมตัวอย่างในห้องปฏิบัติการมีการรั่วของคลื่นมากที่สุดเท่ากับ 4.0 mW/cm2 โดยพบที่บริเวณรอยเชื่อมต่อขอบประตูด้านบน ข้อมูลจากการสำรวจดังกล่าวสรุปได้ว่า เตาไมโครเวฟอยู่ในระดับที่ปลอดภัยไม่มีการรั่วของคลื่นเกินมาตรฐานกำหนด
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
1
ร่วมนำเสนอด้วยการพูดในงานวิชาการ
เสนอโปสเตอร์
เริ่ม: 1 ม.ค. 2550 สิ้นสุด: 29 ธ.ค. 2554
รางวัลที่ได้รับ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๔ ก.พ. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน