กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
การพัฒนาและตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ สารหนู ตะกั่ว และแคดเมียม ในเครื่องสำอางสมุนไพร โดยวิธี Graphite Furnace Atomic Absorption Spectrophotometry (ภาษาไทย)
- (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่: 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2563 รวม:1 ปี
จำนวนเงิน:0.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
1
นายวัชระ วารินทร์
หัวหน้าโครงการ
บทคัดย่อ
ปัจจุบันเครื่องสำอางสมุนไพรกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ซึ่งมีโอกาสปนเปื้อนโลหะหนักจากวัตถุดิบสมุนไพรที่ไม่ได้คุณภาพ ได้แก่ สารหนู ตะกั่ว และแคดเมียม จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังความปลอดภัย โดยพัฒนาวิธีวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักดังกล่าวโดยวิธี Graphite Furnace Atomic Absorption Spectrophotometry (GFAAS) วิธีการเตรียมตัวอย่างโดยใช้กรด และพลังงานจากคลื่นไมโครเวฟ เปลี่ยนสภาพเป็นสารละลาย แล้วตรวจหาปริมาณโดยวิธี GFAAS การตรวจสอบความถูกต้องของวิธีพบว่า สารหนู ตะกั่ว และแคดเมียมมีความเป็นเส้นตรงในช่วง 5-50 5-50 และ 0.3-2.0 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มากกว่า 0.995 การทดสอบความแม่นของวิธี ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละของการกลับคืนเท่ากับ 98.76 81.90 และ 82.53 ตามลำดับ การทดสอบความเที่ยงได้ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์น้อยกว่า 2.61 1.52 และ 3.00 ตามลำดับ ขีดจำกัดของการตรวจพบเท่ากับ 0.21 2.18 และ 0.09 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ขีดจำกัด การตรวจวัดเชิงปริมาณเท่ากับ 0.25 1.00 และ 0.08 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ การตรวจสอบทั้งหมด อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับ โดยนำวิธีนี้ทำการตรวจวิเคราะห์ ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จำนวน 11 ตัวอย่าง พบว่าการปนเปื้อนของโลหะหนักทั้งสามชนิดไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
รางวัลที่ได้รับ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๗ ก.พ. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน