กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
ประสิทธิผลของการใช้ชุดทดสอบพาราควอตแบบแคปซูล (ภาษาไทย)
Effectiveness of Using Paraquat test kit in capsule form (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่: 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2563 รวม:1 ปี
จำนวนเงิน:5,000.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
1
นางจินตนา กรดเต็ม
หัวหน้าโครงการ
2
นายธรรมวุฒิ ชูมาก
ผู้ร่วมวิจัย
3
นางสาวศรินยา ฤทธิเนียม
ผู้ร่วมวิจัย
บทคัดย่อ
ในปีงบประมาณ 2562 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง ได้พัฒนานวัตกรรมชุดทดสอบพาราควอตในรูปแบบแคปซูล ซึ่งใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ วัตถุประสงค์เพื่อให้ห้องปฏิบัติการชันสูตรของโรงพยาบาลสามารถนำไปใช้ทดสอบได้สะดวกและทดสอบตัวอย่างผู้ป่วยที่สงสัยว่าได้รับสารพาราควอต ปีงบประมาณ 2563 ได้ดำเนินการเตรียมตัวอย่างทดสอบความชำนาญโดยเตรียมในตัวอย่างน้ำดื่มน้ำล้างกระเพาะเทียมพร้อมกับชุดทดสอบพาราควอตและจัดส่งให้กับโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการในเขตจังหวัดตรัง พัทลุง สตูลและพังงา รวม 20 แห่ง แยกเป็น โรงพยาบาลในเขตจังหวัดตรัง 6 แห่ง พัทลุง 6 แห่ง สตูล 4 แห่ง และพังงา 4 แห่งผลพบว่าห้องปฏิบัติการชันสูตรของโรงพยาบาลสามารถทดสอบพาราควอตในตัวอย่างน้ำดื่ม รายงานผลถูกต้อง 19 แห่ง (ร้อยละ 95) รายงานไม่ถูกต้อง 1 แห่ง (ร้อยละ5) ส่วนตัวอย่างน้ำล้างกระเพาะเทียม รายงานผลถูกต้อง 17 แห่ง (ร้อยละ85) รายงานไม่ถูกต้อง 3 แห่ง (ร้อยละ15) จะเห็นว่าโรงพยาบาลส่วนใหญ่สามารถใช้ชุดทดสอบพาราควอตแบบแคปซูล ซึ่งสามารถนำไปใช้ทดสอบตัวอย่างในห้องปฏิบัติการชันสูตรของโรงพยาบาลได้ ทำให้ลดเวลาขั้นตอนการส่งตัวอย่างไปยังสถานตรวจพิสูจน์อื่น อีกทั้งทำให้แพทย์ทราบผลได้รวดเร็ว สามารถบำบัดรักษาผู้ป่วยได้ทันท่วงที คำสำคัญ: ชุดทดสอบพาราควอต
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
1
การจัดนิทรรศการในงานต่าง ๆ
ประสิทธิผลชุดทดสอบพาราควอตและขั้นตอนเดียว
เริ่ม: 25 ส.ค. 2564 สิ้นสุด: 27 ส.ค. 2564
รางวัลที่ได้รับ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๒๗ ม.ค. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน