กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
คุณภาพของเครื่องเอกซเรย์ฟันแบบพกพาในเขตสุขภาพที่ 11 (ภาษาไทย)
The quality of Hand-held Dental X-ray units on health region 11 (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎ์ธานี
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557 จนถึงวันที่: 1 เดือน กันยายน พ.ศ. 2558 รวม:1 ปี
จำนวนเงิน:0.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
1
นายชัยยุทธ นทีธร
ผู้ร่วมวิจัย
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ ปัจจุบันการใช้เครื่องเอกซเรย์ฟันแบบพกพาในการวินิจฉัยโรคฟันเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งการใช้งานโดยมากผู้ปฏิบัติงานจะถือเครื่องเอกซเรย์ไว้ในมือคล้ายกับการถ่ายรูป ทำให้อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดรังสีจึงมีโอกาสได้รับรังสีสูง การศึกษานี้ได้เก็บข้อมูลจากเครื่องเอกซเรย์ฟันแบบพกพาที่ใช้งานของโรงพยาบาล และคลินิก ในเขตสุขภาพที่ 11 (จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง) จำนวน 12 เครื่อง ผลการศึกษาพบว่าค่ากิโลโวลต์ (kV) อยู่ในช่วง 55.0 65.0 kV เฉลี่ย 58.5 kV ค่าความแม่นยำของค่า kV อยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 8.3 เฉลี่ยร้อยละ 3.05 ค่าความแม่นยำของค่าเวลาอยู่ในช่วงร้อยละ 0.3 2.9 เฉลี่ยร้อยละ 0.7 ค่า HVL อยู่ในช่วง 1.7 2.5 mm Al เฉลี่ย 1.9 mm Al ค่า SSD อยู่ในช่วง 10 22 cm เฉลี่ย 10 cm ค่า X-ray field size อยู่ในช่วง 5.5 6.0 cm เฉลี่ย 6.0 cm ค่าปริมาณรังสีรั่วจากหลอดเอกซเรย์มีค่าน้อยกว่า 1 µGy/hr และค่าปริมาณรังสีต่อค่าเทคนิคที่ตั้งอยู่ในช่วง 395.1 947.4 µGy/mAs เฉลี่ย 636.5 µGy/mAs สรุปได้ว่าเขตสุขภาพที่ 11 คุณภาพเครื่องเอกซเรย์ฟันแบบพกพาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้นค่าเครื่องจำกัดลำรังสี (SSD) ซึ่งส่งผลต่อความเสี่ยงที่ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่เอกซเรย์จะได้รับรังสีเกินความจำเป็น คำสำคัญ : เครื่องเอกซเรย์ฟันแบบพกพา เขตสุขภาพที่ 11
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
1
ร่วมนำเสนอด้วยการพูดในงานวิชาการ
-
เริ่ม: 5 ก.พ. 2562 สิ้นสุด: 5 ก.พ. 2562
รางวัลที่ได้รับ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๔ ก.พ. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน