กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท และสารหนู ของประชากรที่ไม่ได้รับสัมผัสโลหะพิษในจังหวัดลำปาง (ภาษาไทย)
Lead Cadmium Mercury and Arsenic Baseline in Non Exposed Lampang Population (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2559 จนถึงวันที่: 31 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2559 รวม:0 ปี
จำนวนเงิน:47,040.00 บาท
ลำดับ ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่งในโครงการ
1
นางสาวมณี เขม้นเขตรการ
ผู้ร่วมวิจัย
2
นายจตุพร ชัยชนะ
ผู้ร่วมวิจัย
3
นางสาวดวงใจ จิปิภพ
ผู้ร่วมวิจัย
4
นายสังคม วิทยนันทน์
ผู้ร่วมวิจัย
5
นางพิมอำไพ คงแดง
หัวหน้าโครงการ
การเจริญเติบโตและขยายเขตพื้นที่เศรษฐกิจภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาลในประเทศไทยได้เจริญก้าวหน้าและขยายตัวด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ผลจากการพัฒนาประเทศทำให้ประสบปัญหาด้านมลพิษสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน เนื่องจากการจัดการปัญหาด้านสุขภาพไม่ทันกับการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมทำให้มีการปล่อยมลพิษปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม สิ่งที่พบคือปัญหาจากกลุ่มโลหะพิษได้แก่ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท และ สารหนู เมื่อโลหะหนักเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากและระยะเวลานาน จะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามชนิดของพิษโลหะหนักเหล่านั้น ดังเช่นปัญหาสุขภาพประชาชนที่อยู่อาศัยรอบบริเวณเหมืองทองคำที่ตรวจพบแมงกานีส และสารหนูในเลือด เนื่องจากว่าประเทศไทยยังขาดข้อมูลพื้นฐาน (baseline data) ของระดับโลหะพิษในประชากรไทย (non-exposed population) เมื่อเกิดปัญหาสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับโลหะพิษ จึงไม่มีข้อมูลสำหรับการเปรียบเทียบหรืออ้างอิง ทำให้ต้องนำข้อมูลจากการศึกษาของต่างประเทศมาอ้างอิง
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เห็นถึงความสำคัญของการจัดทำข้อมูลพื้นฐานระดับโลหะในประชากรไทย ได้แก่ ตะกั่ว แคดเมียม ปรอทในเลือด และสารหนูในปัสสาวะ ในประชากรไทยวัยผู้ใหญ่ (adult) ที่ไม่ได้รับสัมผัสโลหะพิษทั้ง 4 ชนิด ทั่วประเทศ จึงได้ทำการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการคัดเลือกกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษาจากการสุ่มตัวอย่าง โดยคัดเลือกจากประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ความรับผิดชอบของศูนย์พิษวิทยา และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับสัมผัสโลหะ จำนวน 2 044 รายเพศชายและหญิง อายุ 20 -70 ปี ถ้าเป็นเพศหญิงต้องไม่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ เป็นผู้อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ศึกษาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ไม่มีประวัติป่วยด้วยโรคโลหะเป็นพิษ และไม่มีประวัติการได้รับสัมผัสกับโลหะพิษจากการประกอบอาชีพทั้ง 4 ชนิดโดย แยกเก็บจังหวัดต่างๆ ได้แก่ ลำปาง พะเยา สุโขทัย สระบุรี จันทบุรี บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร สงขลา สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง กรุงเทพมหานคร นนทบุรี
ส่วนของผู้วิจัยฯ ได้ประสานงานกับพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลจำนวน 2 แห่งเขตอำเภอเมือง จ.ลำปาง เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการและดำเนินการคัดเลือกอาสาสมัคร ตรวจสุขภาพเบื้องต้น วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง พร้อมสอบถามประวัติการทำงาน การศึกษา การได้รับสัมผัสสารเคมี ข้อมูลพฤติกรรม และข้อมูลสุขภาพโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อเก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ จำนวน 99 ราย แยกเป็นเพศชาย 27 ราย เพศหญิง 72 ราย อายุระหว่าง 20 70 ปี นำไปวิเคราะห์หาปริมาณโลหะพิษโดยใช้เทคนิค ICP-MS-MS HPLC-ICP-MS-MS และการตรวจความสมบูรณ์ของเลือด(CBC) รวบรวมวิเคราะห์ผลทางสถิติและนำผลที่ได้รายงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่รับผิดชอบเพื่อส่งผลต่ออาสาสมัครเพื่อนำผลไปใช้เป็นข้อมูลเฝ้าระวังสุขภาพ และส่งข้อมูลที่ได้ให้ศูนย์พิษวิทยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อรวบรวมผลทั่วประเทศ นำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ สรุปผล ในระดับประเทศ ได้ผลนำมาเป็นค่า baseline data ของตะกั่ว แคดเมียม ปรอท และสารหนู เพื่อใช้เป็นค่าอ้างอิงในการการเปรียบเทียบการรับสัมผัสโลหะพิษในประเทศไทยต่อไป
ผลการศึกษาพบระดับตะกั่วในเลือดมีค่าระหว่างตรวจไม่พบ - 21.7 ug/dL ค่าเฉลี่ย 3.2 ± 3.0 ug/dLระดับแคดเมียมในเลือดมีค่าระหว่าง0.2 4.7 ug/L ค่าเฉลี่ย0.9 ± 0.6 ug/L ระดับปรอทในเลือดมีค่าระหว่าง0.4 13.8 ug/Lค่าเฉลี่ย 3.1± 2.0 ug/L และระดับสารหนูในปัสสาวะ 6.2 359.0 ug/L ค่าเฉลี่ย 55.8 ± 55.6 ug/L เมื่อเปรียบเทียบกับค่าอ้างอิงของต่างประเทศ (1
ลำดับ กิจกรรม รายละเอียด ระยะเวลา
1
การจัดนิทรรศการในงานต่าง ๆ
เสนอโปสเตอร์
เริ่ม: 6 ก.ย. 2560 สิ้นสุด: 8 ก.ย. 2560
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๔ ก.พ. ๒๕๖๖