กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
การวิจัยและพัฒนาชุดทดสอบตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสซิกา. (ภาษาไทย)
Development of Zika virus antibody detection kit by Immunochromatography (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2559 จนถึงวันที่: 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2560 รวม:1 ปี
จำนวนเงิน:1,472,500.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
1
นางสาวปนัดดา เทพอัคศร
หัวหน้าโครงการ
2
นางนงลักษณ์ พุทธิรักษ์กุล
ผู้ร่วมวิจัย
3
นางสาวอณิชา เลื่องชัยเชวง
ผู้ร่วมวิจัย
4
นายอภิชัย ประชาสุภาพ
ผู้ร่วมวิจัย
5
นางสุมาลี ชะนะมา
ผู้ร่วมวิจัย
6
นางสาวกชรัตน์ จงปิติทรัพย์
ผู้ร่วมวิจัย
บทคัดย่อ
โรคติดเชื้อไวรัสซิกา เป็นโรคติดต่อสู่คนโดยมียุงลายเป็นพาหะ นอกจากนี้สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ ทำให้เกิดภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดในทารกแรกคลอด อาจพบอาการกิลแลงบาร์เรและโรคทางระบบประสาทอื่นๆ ด้วย การตรวจภูมิคุ้มกันในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว สามารถช่วยยืนยันสาเหตุการติดเชื้อได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพชุดตรวจแอนติบอดี IgM และ IgG ต่อเชื้อไวรัสซิกา ด้วยหลักการ Immunochromatography โดยใช้โปรตีน NS1 เป็น Test line ส่วน Conjugate ใช้ anti Human Immunoglobulin IgM และ Protein A ในการตรวจ IgM และ IgG ตามลำดับ และนำชุดตรวจที่พัฒนาขึ้นมาศึกษาเพื่อประเมินคุณภาพเปรียบเทียบกับ rapid commercial kit โดยใช้ตัวอย่างซีรัมบวกและลบที่ตรวจยืนยันโดย ELISA ในการประเมินชุดตรวจ Zika IgM จำนวน 225 ราย และ Zika IgG 153 ราย พบว่าชุด Zika IgM ที่พัฒนาขึ้นนี้มีความไว (37/37) 100% ความจำเพาะ (183/188) 97.34% ในขณะที่ rapid commercial kit มีความไว (37/37) 100% ความจำเพาะ(122/188) 64.89% และ ชุด Zika IgG ที่พัฒนาขึ้นมีความไว (86/101) 85.15% ความจำเพาะ (52/52) 100% ในขณะที่ชุด commercial test kit มีความไว (12/101) 11.88% ความจำเพาะ (52/52) 100% นอกจากนี้พบว่าชุด Zika IgM และ Zika IgG เกิดปฎิกิริยาข้ามกับซีรั่ม Dengue IgM JE IgM และDengue IgG เท่ากับ (3/43) 6.97% (1/12) 8.33% และ (10/33) 30.3% ตามลำดับ ผลการประเมินคุณภาพแสดงให้เห็นว่าชุดตรวจนี้มีศักยภาพในการนำไปใช้ตรวจคัดกรองแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสซิกา เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมโรคได้ต่อไป
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
1
ร่วมนำเสนอด้วยการพูดในงานวิชาการ
นำเสนอโดยวาจา
เริ่ม: 28 มี.ค. 2561 สิ้นสุด: 30 มี.ค. 2561
2
ตีพิมพ์ผ่านบทความทางวิชาการ
นำเสนอโดยโปสเตอร์
เริ่ม: 22 มี.ค. 2560 สิ้นสุด: 24 มี.ค. 2560
รางวัลที่ได้รับ
ชื่อรางวัล:รางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย หน่วยงานที่มอบ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วันเดือนปี ที่มอบ: 30 มี.ค. 2561
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๗ ก.พ. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน