กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
นวัตกรรมคู่มือกายภาพเห็ดพิษ (ภาษาไทย)
- (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:2 เดือน มกราคม พ.ศ. 2560 จนถึงวันที่: 29 เดือน กันยายน พ.ศ. 2560 รวม:1 ปี
จำนวนเงิน:0.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
1
นางสาวมณี เขม้นเขตรการ
หัวหน้าโครงการ
2
นางพิมอำไพ คงแดง
ผู้ร่วมวิจัย
3
นางสาวดวงใจ จิปิภพ
ผู้ร่วมวิจัย
4
นายจตุพร ชัยชนะ
ผู้ร่วมวิจัย
5
นายสังคม วิทยนันทน์
ผู้ร่วมวิจัย
บทคัดย่อ
รายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากการบริโภคเห็ดพิษ (Poisonous mushroom) ในประเทศไทยยังคงเกิดขึ้นและพบเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน (พฤษภาคม-สิงหาคม) ข้อมูลเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ปี พ.ศ. 2553-2557 พบว่าจังหวัดเชียงใหม่พบผู้เสียชีวิตรวม 16 ราย อุบลราชธานี 6 ราย เชียงราย 4 ราย ตาก 3 ราย ร้อยเอ็ดและอุดรธานี 2 ราย ปี พ.ศ. 2558 มีผู้ป่วยจากการกินเห็ดพิษทั้งหมด 1 371 ราย เสียชีวิต 10 ราย โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-กันยายน) พบผู้ป่วยรวมกันถึง 985 ราย (ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยทั้งหมด) และผู้เสียชีวิตทั้งหมดเกิดเหตุในช่วงดังกล่าวเช่นกัน จากรายงานข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าอัตราป่วยและเสียชีวิตไม่คงที่ แต่ในภาพรวมมีแนวโน้มสูงขึ้น และเกิดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่พบมีผู้เสียชีวิตซ้ำทุกปี แสดงให้เห็นว่าประชาชนยังมีความเข้าใจผิดในการเก็บเห็ดพิษมารับประทานจนเป็นอันตรายถึงชีวิต ในการนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่และห้องปฏิบัติการพิษวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้จัดทำโครงการบูรณาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภูมิปัญญาสู่นวัตกรรมคู่มือกายภาพเห็ดพิษ เพื่อจำแนกความแตกต่างของเห็ดพิษและเห็ดกินได้ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันมากโดยเฉพาะกลุ่มเห็ดสกุล Amanita (กลุ่มเห็ดระโงก) ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา ศึกษาและฝึกปฏิบัติจริงผ่านห้องเรียนธรรมชาติพื้นที่ป่าตำบลร้องธาร อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการออกแบบวิธีและเก็บตัวอย่างเห็ดราในธรรมชาติให้ได้สัณฐานวิทยาที่สมบูรณ์ อภิปรายแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างห้องปฏิบัติการและภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่หน่วยงานสาธารณสุข จำนวน 40 คน ในการจำแนกเห็ดระโงกขาวกินได้กับเห็ดระงากขาวพิษ และทอดบทเรียนจัดทำร่างคู่มือกายภาพเห็ดพิษ
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
1
ร่วมนำเสนอด้วยการพูดในงานวิชาการ
-
เริ่ม: 2 ม.ค. 2560 สิ้นสุด: 29 ก.ย. 2560
รางวัลที่ได้รับ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๔ ก.พ. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน