กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างคลังของโมเลกุลแอนติบอดีชนิด scFv (ภาษาไทย)
Research and development for construction of scFv Antibody Library (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2555 จนถึงวันที่: 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 รวม:2 ปี
จำนวนเงิน:1,674,250.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
1
นางสาวปนัดดา เทพอัคศร
หัวหน้าโครงการ
2
นายอภิชัย ประชาสุภาพ
ผู้ร่วมวิจัย
3
นางสาวอณิชา เลื่องชัยเชวง
ผู้ร่วมวิจัย
4
นางสาวพรทิพย์ ไชยยะ
ผู้ร่วมวิจัย
5
นางสาวสกุลรัตน์ สุนทรฉัตราวัฒน์
ผู้ร่วมวิจัย
6
นางสาวกชรัตน์ จงปิติทรัพย์
ผู้ร่วมวิจัย
7
นางสาวกฤศมน โสภณดิลก
ผู้ร่วมวิจัย
8
นางสาวพันธ์ธิดา ตรียวง
ผู้ร่วมวิจัย
บทคัดย่อ
ปัจจุบันโมโนโคลนอลแอนติบอดีเป็นวัตถุดิบหลักที่สำคัญในการผลิตชุดตรวจวินิจฉัยโรคทางภูมิคุ้มกันวิทยา ซึ่งมักใช้เทคนิคไฮบริโดมาในการสร้างและผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดี แต่อย่างไรก็ตามการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีด้วยเทคนิคนี้ยังมีข้อจำกัดในด้านความคงตัวของเซลล์ไฮบริโดมาอีกทั้งยังต้องใช้ระยะเวลานานในการฉีดกระตุ้นสัตว์ทดลอง และคัดเลือกโคลนที่มีประสิทธิภาพในการผลิตแอนติบอดี ตลอดจนใช้ระยะเวลานานในการเพาะเลี้ยงเซลล์จึงมีต้นทุนในการผลิตสูง ด้วยเหตุนี้คณะผู้วิจัยจึงได้นำเทคนิควิธีทางพันธุวิศวกรรมมาใช้เพื่อพัฒนาการสร้างคลังของโมเลกุลแอนติบอดีชนิด scFv ขึ้นเสริมหรือทดแทนแอนติบอดีจากเทคนิค Hybridoma โดยนำยีนทีใช้ในการสร้างแอนติบอดีทั้งในส่วนของโมเลกุลสายยาวและโมเลกุลสายสั้นของ lymphocyte repertoires มาทำการเชื่อมต่อกันแล้วโคลนเข้าสู่ยีนบน phagemid vector ที่เข้ารหัสการสร้างโปรตีนผิวฝาจจนทำให้สามารถสร้างคลังของโมเลกุลแอนติบอดีชนิด scFv ที่มีความหลากหลายได้สูงถึง 106 repertoire จากผลการทดลองในการคัดเลือกแอนติบอดีที่มีความจำเพาะเจาะจงกับเอนไซม์ Lactate dehydrogenase ของเชื้อ Plasmodium (pLDH) และ Hepatitis B surface antigen (HBsAg) จากคลังของโมเลกุลแอนติบอดีที่สร้างขึ้นพบว่าสามารถคัดเลือกแอนติบอดีได้จำนวนหลากหลายโคลน และสามารถทำปฏิกิริยากับแอนติเจนได้อย่างจำเพาะเจาะจง อีกทั้งยังสามารถนำไปพัฒนาเป็นชุดตรวจวินิจฉัยทางภูมิคุ้มกันวิทยาชนิดรวดเร็วโดยหลักการ Immunochromatography โดยให้ผลการทดสอบใกล้เคียงกับแอนติบอดีที่ผลิตโดยเทคนิคไฮบริโดมาแสดงให้เห็นว่าคลังของโมเลกุลแอนติบอดีชนิด scFv ที่สร้างขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ในการคัดเลือกหาแอนติบอดีที่มีความจำเพาะกับแอนติเจนต่าง ๆ ได้หลายหลาย และแอนติบอดีที่ได้นี้ยังมีศักยภาพในการนำไปพัฒนาเป็นชุดตรวจวินิจฉัยโรคทางภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
รางวัลที่ได้รับ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๓ ก.พ. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน