กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
การวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาการตรวจคัดกรองมะเร็งตับระยะต้น (ภาษาไทย)
Research and Development for Hepatocellular carcinoma early detection (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2554 จนถึงวันที่: 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 รวม:3 ปี
จำนวนเงิน:1,700,000.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
1
นางสาวปนัดดา เทพอัคศร
หัวหน้าโครงการ
2
นายอภิชัย ประชาสุภาพ
ผู้ร่วมวิจัย
3
นางสาวอณิชา เลื่องชัยเชวง
ผู้ร่วมวิจัย
4
นางสาวสกุลรัตน์ สุนทรฉัตราวัฒน์
ผู้ร่วมวิจัย
5
นางสาวกฤศมน โสภณดิลก
ผู้ร่วมวิจัย
6
นางสาวกชรัตน์ จงปิติทรัพย์
ผู้ร่วมวิจัย
บทคัดย่อ
ความเป็นมา มะเร็งตับเป็นหนึ่งในมะเร็งที่มีผลกระทบต่อสาธารณสุขไทย พบว่า 80% ของมะเร็งตับที่พบเป็นชนิด Hepatocellular carcinoma (HCC) การตรวจคัดกรองมะเร็งตับในปัจจุบันพบว่าไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร นอกจากนั้นมะเร็งตับมีการดำเนินของโรครวดเร็วมากและในประเทศกำลังพัฒนามีอัตรารอดตายที่ 5 ปีต่ำกว่า 10% ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงจัดทำโครงการวิจัยเพื่อค้นหา marker ที่จำเพาะ และนำมาใช้ในการพัฒนาตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งตับชนิด HCC ระยะต้น วัตถุประสงค์ เพื่อค้นหา biomarker ที่จำเพาะกับโรคมะเร็งตับชนิด Hepatocellular Carcinoma (HCC) ที่จะนำไป พัฒนาการตรวจวินิจฉัยมะเร็งตับชนิด HCC ในระยะต้นได้ วิธีการ ดำเนินการเพื่อค้นหา biomarker ที่จำเพาะกับผู้ป่วยมะเร็งตับชนิด HCC โดยอาศัยเทคนิค microarray และ 2-D gel electrophoresis โดยดำเนินการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ และซีรั่ม และทำการศึกษาและวิเคราะห์เพื่อค้นหากลุ่มยีนที่มีการแสดงออกแตกต่างกัน โดยสกัดแยก mRNA จากชิ้นเนื้อบริเวณเซลล์ตับปกติ และจากชิ้นเนื้อบริเวณเซลล์มะเร็งตับ เปรียบเทียบการแสดงออกของยีนต่างๆ ด้วยเทคนิค microarray ศึกษาระดับของโปรตีนที่มีการสร้างแตกต่างกันระหว่างซีรั่มของคนปกติ และซีรั่มของผู้ป่วยมะเร็งตับ โดยใช้เทคนิคการแยกโปรตีน 2 ระนาบ หรือ 2-D gel electrophoresis นำข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์ และแปลผล เพื่อบ่งชี้ biomarker จากนั้นนำมาทำการ validate โดยวิธี ELISA ผลการทดลอง ได้ทำการคัดเลือก Biomarker 2 ชนิด จากข้อมูลของกลุ่มยีนที่มีการแสดงออกแตกต่างกันระหว่างเซลล์ตับปกติและเซลล์มะเร็งตับ และข้อมูลระดับของโปรตีนที่มีการสร้างแตกต่างกันระหว่างซีรัมคนปกติและซีรัมมะเร็งตับ และได้ทำการ validate biomarker เบื้องต้น 1 ชนิดคือ Glypican3 โดยวิธี ELISA พบว่ามีระดับที่แตกต่างในกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา กับกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งตับ สรุปและวิจารณ์จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า Glypican3 ซึ่งเป็น biomarker ที่พบจากการทดลอง มีความจำเพาะต่อกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งตับและมีความเป็นไปได้ในการนำมาพัฒนาการตรวจวินิจฉัย โดยจะได้ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้นต่อไป
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
1
ร่วมนำเสนอด้วยการพูดในงานวิชาการ
นำเสนอโดยโปสเตอร์
เริ่ม: 18 มี.ค. 2553 สิ้นสุด: 18 มี.ค. 2553
รางวัลที่ได้รับ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๓ ก.พ. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน