กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
คุณภาพน้ำปลาที่วางจำหน่ายในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (ภาษาไทย)
Quality of fish sauce in Phuket (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11/1 ภูเก็ต
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:23 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557 จนถึงวันที่: 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2558 รวม:1 ปี
จำนวนเงิน:0.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
1
นางสาวสุจิตร สาขะจร
หัวหน้าโครงการ
2
นางสาวจำรัส พูลเกื้อ
ผู้ร่วมวิจัย
บทคัดย่อ
น้ำปลาเป็นเครื่องปรุงรสที่ได้จากการหมักปลากับเกลือ นิยมใช้ผสมในอาหารของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น้ำปลามี 3 ประเภท คือ น้ำปลาแท้ ได้จากการหมักปลาหรือกากปลา น้ำปลาจากสัตว์อื่นได้จากการหมักสัตว์น้ำอื่นๆ และน้ำปลาผสมได้จากการนำน้ำปลาแท้หรือน้ำปลาจากสัตว์อื่นมาเจือจางด้วยสารที่ไม่เป็นอันตราย เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11/1 ภูเก็ต จึงได้ศึกษาคุณภาพน้ำปลา โดยเก็บตัวอย่างน้ำปลาแท้ และน้ำปลาผสมในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จำนวน 30 ตัวอย่าง น้ำปลาแท้ จำนวน 19 ตัวอย่าง น้ำปลาผสม จำนวน 11 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์ ไนโตรเจนทั้งหมด กลูตามิกต่อไนโตรเจนทั้งหมด วัตถุกันเสีย และกลูตามิก ผลการตรวจวิเคราะห์ ตรวจพบน้ำปลาที่ไม่เข้ามาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 203 (พ.ศ. 2543) จำนวน 13 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 43.33 โดยแบ่งเป็นน้ำปลาแท้ จำนวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 26.32 สาเหตุมาจาก กลูตามิกต่อไนโตรเจนทั้งหมด น้ำปลาผสม จำนวน 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 72.73 สาเหตุมาจาก ไนโตรเจน กลูตามิกต่อไนโตรเจน และวัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิก) จากผลการตรวจวิเคราะห์ พบว่าทั้งน้ำปลาแท้และน้ำปลาผสมซึ่งเป็นตัวอย่างที่ได้รับการขึ้นทะเบียนยังไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ดังนั้นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังตรวจสอบคุณภาพของน้ำปลาอย่างต่อเนื่อง
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
1
การจัดนิทรรศการในงานต่าง ๆ
Poster
เริ่ม: 21 มี.ค. 2559 สิ้นสุด: 23 มี.ค. 2559
รางวัลที่ได้รับ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๗ ก.พ. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน