กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
คุณภาพน้ำดิบสำหรับอุปโภค-บริโภคในจังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ. 2559 (ภาษาไทย)
Quality of raw water for consumer in Phang-Nga and Phuket Province in 2016 (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11/1 ภูเก็ต
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2558 จนถึงวันที่: 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2559 รวม:1 ปี
จำนวนเงิน:0.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
1
นางสาวสุจิตร สาขะจร
หัวหน้าโครงการ
บทคัดย่อ
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11/1 ภูเก็ต ได้ตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีของน้ำดิบที่ส่งตรวจจากจังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ. 2559 โดยตรวจ ความเป็นกรด-ด่าง ของแข็งทั้งหมด ความกระด้างทั้งหมด คลอไรด์ ไนเตรต เหล็ก และฟลูออไรด์ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2524) เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เพราะน้ำดิบไม่มีเกณฑ์มาตรฐาน แต่ผู้มารับบริการส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการโรงงานน้ำดื่ม จำนวน 68 ตัวอย่าง ผ่านมาตรฐาน 48 ตัวอย่าง (ร้อยละ 70.59) ไม่ผ่านมาตรฐาน 20 ตัวอย่าง (ร้อยละ 29.41) สาเหตุที่น้ำดิบไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสูงที่สุดคือมีความเป็นกรด-ด่าง ต่ำกว่ามาตรฐาน (ร้อยละ 100) รองลงมาคือ ความกระด้างทั้งหมดสูงกว่ามาตรฐาน (ร้อยละ 50.0) ปริมาณไนเตรตสูงกว่ามาตรฐาน (ร้อยละ 40.0) ของแข็งทั้งหมดสูงกว่ามาตรฐาน (ร้อยละ 10.0) ปริมาณเหล็ก และฟลูออไรด์สูงกว่ามาตรฐาน (ร้อยละ 5.0) ตามลำดับ ประเภทของน้ำที่ส่งตรวจวิเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นน้ำใต้ดิน ไม่เข้ามาตรฐาน เนื่องจากน้ำใต้ดินจากจังหวัดพังงาและภูเก็ต เป็นเขตเหมืองแร่เก่า มีแร่ธาตุหลายชนิด ผลการศึกษานี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้ประกอบการโรงงานน้ำดื่ม และประชาชนในจังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต สามารถนำไปใช้ในการควบคุมคุณภาพการผลิตน้ำและการกรองน้ำ สำหรับการอุปโภคบริโภคก่อนนำไปใช้ต่อไป
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
1
การจัดนิทรรศการในงานต่าง ๆ
Poster
เริ่ม: 22 มี.ค. 2560 สิ้นสุด: 24 มี.ค. 2560
รางวัลที่ได้รับ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๓ ก.พ. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน