กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้ วิธีวิเคราะห์ปริมาณโคลชิซินในเหง้าดองดึง โดยเทคนิคโครมาโทกราฟีชนิดของเหลวประสิทธิภาพสูง (ภาษาไทย) Determination of Cochicine in Dong-Dueng Tuber by High Performace Liquid chomatoghaphy (ภาษาอังกฤษ)
โคลชิซินเป็นสารที่ใช้ในการรักษาและมีความเป็นพิษ พบเป็นสารสำคัญในหัวดองดึงซึ่งมีการใช้ในตำรับยาตามคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ การวิจัยนี้จึงได้พัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณโคลชิซินในหัวดองดึงโดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟีชนิดของเหลวประสิทธิภาพสูงเพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพและคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค เตรียมตัวอย่างโดยการสกัดหัวดองดึง 5 กรัม ด้วยเมธานอลร้อยละ50 ปริมาตร 20 มิลลิลิตรด้วยวิธี sonicate นาน 20 นาทีใช้คอลัมน์ XBridge C18มีส่วนผสมของเมธานอลและน้ำเป็นสารละลายตัวพา อัตราการไหล 1 มิลลิลิตรต่อนาที ตรวจวัดที่ความยาวคลื่น 354 นาโนเมตร ปริมาตรที่ฉีด20 ไมโครลิตร การทดสอบความถูกต้องของวิธีพบว่ามีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างความเข้มข้นของโคลชิชินและพื้นที่ใต้พีคตลอดช่วงความเข้มข้น 0.5 160 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.9990ร้อยละของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพันธ์ของความเที่ยงภายในวันและระหว่างวันมีค่าเท่ากับ 0.16 และ 0.94 ตามลำดับ ความแม่นของวิธีได้จากการเติมสารละลายโคลชิซินในตัวอย่างที่ความเข้มข้น 3 ระดับ คือ 5 10 และ 20 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรพบว่าค่าการคืนกลับของโคลชิซินอยู่ในช่วงร้อยละ 95.3 100.2ค่าขีดจำกัดของการตรวจวัดและขีดจำกัดของการหาปริมาณเท่ากับ 0.1 และ 0.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับสรุปได้ว่าวิธีวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการเฝ้าระวังโคลชิซินในหัวดองดึง
คำสำคัญ:ดองดึง โคลชิซิน
Abstract
Colchicine is a therapeutic substance and itstoxicity is concerned. It is found to be an active substance in Dong-Dueng which is used in Thai traditional medicine formulations. This research aimed to develop high performance liquid chromatographic (HPLC) method for determination of colchicine content in Dong-Dueng for quality control and comsumer protection purposes.Sample solution was prepared by sonication of 5 g of Dong-Dueng with 50%methanol for 20 min. The XBridgeC18and a mixture of methanol and water were used as stationary phase and mobile phase