กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
การประเมินการตรวจเชื้อวัณโรคได้ผลเร็วด้วยเทคนิค isothermal amplification ชนิด Non-LAMP test (ภาษาไทย)
การประเมินการตรวจเชื้อวัณโรคได้ผลเร็วด้วยเทคนิค isothermal amplification ชนิด Non-LAMP test (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:28 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2561 จนถึงวันที่: 28 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2561 รวม:0 ปี
จำนวนเงิน:0.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
บทคัดย่อ
เทคนิค isothermal amplification ชนิด Non-LAMP test พัฒนาจากวิธี Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำสำหรับการตรวจเชื้อวัณโรคได้ผลเร็ว โดยการเพิ่มปริมาณ DNA เกิดขึ้นที่อุณหภูมิเดียว จึงแตกต่างจากวิธี PCR (Polymerase Chain Reaction) และแตกต่างจากวิธี LAMP คือใช้ oligonucleotide ที่ใช้ตั้งต้นสังเคราะห์ DNA เพียง 1 คู่ เนื่องจากเชื้อวัณโรคเจริญช้า การใช้เทคนิคนี้ในการตรวจพิสูจน์เชื้อที่เพาะขึ้นหรือตรวจหาเชื้อวัณโรคโดยตรงในตัวอย่างส่งตรวจ จะช่วยให้ได้ผลการตรวจเชื้อวัณโรคเร็วขึ้น งานวิจัยนี้ศึกษาประเมินความเป็นไปได้และประสิทธิภาพของการใช้ Non-LAMP isothermal amplification ที่เตรียมน้ำยาขึ้นเอง ในการตรวจพิสูจน์เชื้อและใช้ตรวจหาเชื้อวัณโรคโดยตรงในตัวอย่าง โดยการเปรียบเทียบกับผลการตรวจพิสูจน์เชื้อที่เพาะขึ้นโดยตรวจแอนติเจนเชื้อวัณโรคด้วย Immunochromatographic test (ICT) ซึ่งเป็นวิธีตรวจในงานประจำ วิเคราะห์จำนวนเชื้อวัณโรคต่ำสุดที่ตรวจได้ และทดสอบวิธีการในการตรวจหาเชื้อวัณโรคโดยตรงในตัวอย่าง ผลการประเมิน วิธีการ Non-LAMP สามารถตรวจเชื้อวัณโรคได้ในสภาวะที่เหมาะสมที่ 68°C มีความจำเพาะต่อเชื้อวัณโรค ไม่พบปฏิกิริยาข้ามกับเชื้ออื่นที่ทดสอบ การประเมินการใช้วิธีการในการพิสูจน์เชื้อวัณโรค ตัวอย่างวิเคราะห์เป็นเชื้อที่เพาะขึ้นมีผลพิสูจน์ทราบเป็นเชื้อวัณโรคด้วยการทดสอบแอนติเจนที่จำเพาะยืนยันเป็นเชื้อวัณโรคจำนวน 221 ตัวอย่าง ตรวจด้วย Non-LAMP test โดยใช้อ่างน้ำร้อนควบคุมอุณหภูมิ อ่านผลได้ทุกตัวอย่างที่ 55 นาที โดยสังเกตเห็นการเปลี่ยนสีของปฏิกิริยาได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า NonLAMP test ให้ผลตรวจยืนยันเป็นเชื้อวัณโรคตรงกัน 220 ตัวอย่าง สอดคล้องกับการตรวจด้วยวิธีในงานประจำ สามารถตรวจหาเชื้อวัณโรคโดยตรงในเสมหะ จำนวนเชื้อต่ำสุดที่ตรวจได้น้อยกว่า 10 เซลล์ ผลตรวจหาเชื้อโดยตรง จำนวนตัวอย่างเสมหะที่มีผลเพาะเชื้อวัณโรคขึ้น 85 ตัวอย่าง Non- LAMP test ตรวจพบเชื้อวัณโรค 76 ตัวอย่าง (89.41%) เป็นวิธีการตรวจที่ง่าย และมีราคาถูก สรุป วิธีการ Non-LAMP Isothermal amplification ที่พัฒนาขึ้นสามารถตรวจวิเคราะห์เชื้อวัณโรคได้ โดยมีความจำเพาะและความไวในการตรวจเชื้อวัณโรคสูง เหมาะสมในการนำไปใช้งาน โดยใช้ตรวจพิสูจน์เชื้อวัณโรคจากเชื้อที่เพาะขึ้นหรือตรวจเชื้อวัณโรคโดยตรงในตัวอย่าง ได้ผลเร็ว เป็นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งวิธีการที่ง่ายนี้ ห้องปฏิบัติการน่าจะสามารถปฏิบัติได้และใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
1
การจัดนิทรรศการในงานต่าง ๆ
จากโครงการ เรื่อง โครงการ การประเมินวิธีการตรวจเชื้อวัณโรคได้ผลเร็วด้วยเทคนิค isothermal amplification ชนิด Non-LAMP test เผยแพร่ นำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ การประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 14-16 กันยายน 2558 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้ จอมเทียน พัทยา จังหวัดชลบุรี
เริ่ม: 28 พ.ค. 2561 สิ้นสุด: 28 พ.ค. 2561
รางวัลที่ได้รับ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๒๗ ม.ค. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน