กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
การตรวจหาลำดับเบสทั้งจีโนมของเชื้อวัณโรคด้วยเทคนิควิเคราะห์ลำดับเบสรุ่นใหม่ (ภาษาไทย)
Whole Genome Sequencing of Mycobacteria using Next Generation Seuquencing. (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560 จนถึงวันที่: 31 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2561 รวม:1 ปี
จำนวนเงิน:0.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
1
นายสุรัคเมธ มหาศิริมงคล
หัวหน้าโครงการ
2
นางนวลจันทร์ วิจักษณ์จินดา
ผู้ร่วมวิจัย
3
นางสาวเพ็ญพิชชา ถาวงศ์
ผู้ร่วมวิจัย
4
นางสาวปุณฑริกา ไพบูลย์ศิริ
ผู้ร่วมวิจัย
บทคัดย่อ
การถอดรหัสจีโนมเชื้อวัณโรคด้วยเทคโนโลยี Next-generation sequencing ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อบ่งบอกการดื้อต่อยาต้านวัณโรค และการแพร่ระบาดของเชื้อวัณโรค คณะผู้วิจัยได้พัฒนาการตรวจวิเคราะห์ด้วยการถอดรหัสจีโนมของเชื้อวัณโรคจำนวน 126 ตัวอย่าง ตรวจสอบความใช้ได้ของการตรวจวิเคราะห์ โดยพิจารณาค่าความไว ความจำเพาะ การทำนายเชิงบวก และการทำนายเชิงลบ ในการรายงานผลดื้อยา และประสิทธิภาพจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อวัณโรคจากการถอดรหัสจีโนมเทียบกับ Spoligotype ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจสายพันธุ์ของเชื้อวัณโรค ผลการทดสอบพบว่า การตรวจวิเคราะห์รหัสจีโนมที่พัฒนาขึ้น สามารถตรวจการดื้อต่อกลุ่มยาต้านวัณโรคแนวที่ 1 และ 2 รวมทั้งภาวะของเชื้อดื้อยา โดยให้ค่าความไวร้อยละ 80.0 100.0 และค่าความจำเพาะร้อยละ 88.6 100.0 ซึ่งเทียบเท่าหรือสูงกว่า ค่าที่ได้จากระบบวิเคราะห์รหัสจีโนมของเชื้อวัณโรคโดยคณะผู้วิจัยจากประเทศอังกฤษ การทดสอบความถูกต้องของการตรวจวิเคราะห์ พบว่าการทำนายเชิงบวก และการทำนายเชิงลบ อยู่ที่ร้อยละ 80.0 100.0 และ 89.1 100.0 ตามลำดับ และทำให้ทราบผลวัณโรคดื้อยาหลายขนาน และดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรง ได้ภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากผลการเพาะเชื้อเป็นบวก ลดลงจากระยะเวลาปกติที่ใช้เวลา 4 12 สัปดาห์ โดยวิธีทางจุลชีววิทยา การตรวจวิเคราะห์รหัสจีโนมมีค่าดัชนีอำนาจจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อวัณโรค (Discriminatory index) ที่ 0.7511 ซึ่งสูงกว่า Discriminatory index ของ Spoligotype ที่ 0.2406 โดยประสิทธิภาพจำแนกที่สูงนี้ ทำให้สามารถแยกคลัสเตอร์การระบาดของเชื้อวัณโรคได้ การตรวจวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นได้นำมาใช้ในการถอดรหัสจีโนมของเชื้อวัณโรค ภายใต้โครงการเฝ้าระวังการดื้อยาวัณโรคของประเทศไทย ครั้งที่ 5 เพื่อศึกษาอัตราการดื้อยา และระบาดวิทยาเชิงโมเลกุลของเชื้อวัณโรคในประเทศไทย
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
1
ร่วมนำเสนอด้วยการพูดในงานวิชาการ
การประชุมวิชาการ 100 ปี การสาธารณสุขไทย. วันที่ 18 - 20 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี นำเสนอผลงานแบบปากเปล่า
เริ่ม: 18 ก.ค. 2561 สิ้นสุด: 20 ก.ค. 2561
รางวัลที่ได้รับ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๓ ก.พ. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน