กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Department of Medical Sciences
ทะเบียนองค์ความรู้
GREEN BOOK : Antituberculous drugs (ภาษาไทย)
GREEN BOOK : Antituberculous drugs (ภาษาอังกฤษ)
หน่วยงาน
สำนักยาและวัตถุเสพติด
ระยะเวลาในการดำเนินการ
งบประมาณ
เริ่มวันที่:1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2560 จนถึงวันที่: 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2561 รวม:1 ปี
จำนวนเงิน:0.00 บาท
รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการ
ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่งในโครงการ
1
นายสมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์
หัวหน้าโครงการ
2
นางสาวจันทนา พัฒนเภสัช
ผู้ร่วมวิจัย
3
นางสาวโสมขจี หงษ์ทอง
ผู้ร่วมวิจัย
4
นางสาวมาศวลัย ลิขิตธนเศรษฐ์
ผู้ร่วมวิจัย
บทคัดย่อ
วัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตประชากร ก่อให้เกิดการสูญเสียผลิตภาพและเศรษฐกิจ แม้จะมีการให้วัคซีนบีซีจีป้องกันการติดเชื้อวัณโรคมานาน แต่ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากการควบคุมรักษาและป้องกันยังไม่เข้มงวดและครอบคลุมเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว องค์การอนามัยโลกจึงกำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรคภายในปี พ.ศ. 2578 วัณโรคยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย โดย องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงระดับโลก กระทรวงสาธารณสุขจึงผลักดันให้การยุติปัญหาวัณโรคเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการดำเนินการเพื่อให้ประเทศไทยสามารถควบคุมและลดอุบัติการณ์วัณโรคได้ตามเป้าหมาย กระทรวงสาธารณสุขจึงจัดทำแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564 ซึ่งกำหนดโครงการที่สำคัญหลายโครงการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการระดับชาติ มีบทบาทในการตรวจวิเคราะห์ยาเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพและคุ้มครองผู้บริโภคภายใต้ โครงการประกันคุณภาพยา ซึ่งดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 ต่อเนื่องทุกปีจนถึงปัจจุบัน ข้อมูลผลการวิเคราะห์ได้สรุปภาพรวมเป็นฐานข้อมูลคุณภาพยาระดับประเทศ โดยผลิตภัณฑ์ยาและผู้ผลิตที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกในแต่ละปี จะนำไปจัดทำหนังสือ GREEN BOOK ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 13 เล่ม เนื่องในโอกาสพิเศษ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงรวบรวมรายชื่อยารักษาวัณโรค (อ้างอิงตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2560) จาก GREEN BOOK ทั้ง 13 เล่ม รวมถึงผลการตรวจสอบคุณภาพยาในปี พ.ศ.2560 เพื่อจัดทำ GREEN BOOK ฉบับยารักษาวัณโรคขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกต่อบุคลากรทางการแพทย์ในการสืบค้นข้อมูล เพื่อสนับสนุนการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ยาของหน่วยบริการด้านสาธารณสุขเพื่อสนับสนุนการดูแลรักษา และควบคุมวัณโรคในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ
การเผยแพร่
ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียด
ระยะเวลา
1
การจัดนิทรรศการในงานต่าง ๆ
เผยแพร่โดยส่งไปยังหน่วยงานต่างๆ และดาวน์โหลดฟรีทางเว็บสำนักยาและวัตถุเสพติด
เริ่ม: 1 ต.ค. 2560 สิ้นสุด: 30 ก.ย. 2561
รางวัลที่ได้รับ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
http://innovation.dmsc.moph.go.th
ข้อมูล ณ วันที่:๗ ก.พ. ๒๕๖๖
พิมพ์รายงาน